แชร์

ปราสาทแดร็กคูลา โรมาเนีย เรื่องจริง หรือแค่นิยาย?

พี่ตีนโต พี่ตีนโต
อัพเดทล่าสุด: 22 มิ.ย. 2025
179 ผู้เข้าชม
หลายท่านอาจจะสงสัยว่ามี ปราสาทแดร็กคูล่า จริงๆด้วยรึ คิดว่าเป็นแค่เรื่องแต่งกันซะอีก ตำนานแวมไพร์มาจากไหนกันนะ


ปราสาทแดร็กคูล่า มีอยู่จริงๆนะครับ โดยอยู่ในประเทศโรมาเนีย เมืองบราน (Bran) ไม่ใกล้ ไม่ไกลกับเมืองบราซอฟ (Brasov) ทำให้เราโล่งไปได้หนึ่งเปราะ เพราะอยู่ค่อนข้างไกล ไม่น่าโดนดูดเลือดกันได้ง่ายๆนัก หึหึ


จริงๆแล้วชื่อของปราสาทแท้ๆ จะมีชื่อว่า ปราสาทบราน (Bran Castle) ตามชื่อเมืองนั่นเอง แต่ชื่อที่โด่งดังกว่า และเป็นภาพจำกันไปแล้ว คือ ปราสาทแดร็กคูล่า (Dracula's Castle) เนื่องด้วยเพราะอะไร ขออนุญาตเกริ่นถึงประวัติดั้งเดิมกันก่อนนะ


ปราสาทบราน สร้างขึ้นในปี ค.ศ.1377 แล้วเสร็จในอีก 11 ปีต่อมา (ค.ศ.1388) ริเริ่มโดยกษัตริย์หลุยส์ที่ 1 แห่งฮังการี (Louis I of Anjou) จุดประสงค์เพื่อเป็นด่านเก็บค่าผ่านทาง สำหรับสินค้าที่ผ่านเข้า-ออก ทรานซิลเวเนีย และอีกนัยสำคัญ ก็เพื่อเป็นป้อมปราการกันการรุกรานจากจักวรรดิออตโตมัน ที่ยุคสมัยนั้นแผ่ขยายเรืองอำนาจกันสุด ๆ ในการสู้รบชิงพื้นที่ไปหลายทวีปทั่วโลกกันเลย




ภาพ: Louis I of Anjou ที่มา: Wikimedia Commons (public domain)


ตัดข้ามกันมาที่ปี ค.ศ.1459 เจ้าชายแห่งแคว้น Wallachia คือ Vlad Tepes มีอีก 2 ชื่อด้วยกัน ; Vlad III of Wallachia และ Vlad the Impaler (ดังที่สุดชื่อนี้ฮะ) แม้จะไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเคยอยู่ปราสาทนี้จริงจัง แต่มีความเกี่ยวโยงแน่นอนน...แกเป็นใคร...เป็นพันธมิตรของเจ้าชายแห่ง Transylvania ซึ่งก็คือกลุ่ม Saxons ในสมัยนั้น (Saxons คือกลุ่มชาวเยอรมันบรรพบุรุษ หรือยุโรปอีกหลายประเทศในปัจจุบันก็ว่าได้) ในการช่วยยับยั้งกลุ่มออตโต้มัน  แต่ภายหลัง Vlad III เองไปตีเมือง Brasov ที่อยู่ใกล้กับ Bran เพื่อยุติความขัดแย้งระหว่าง Wallachia (ฝั่ง Vlad the Impaler ) และ Saxons  จากเรื่องผลประโยชน์ และการแย่งชิงบัลลังค์...ผลสุดท้าย Vlad III ชนะ และสังหารชาว Saxons นับร้อยกันเลยหล่ะ


ต้องบอกว่าชาว Saxons ถ้าย้อนกลับไป (จริงๆชื่อเต็มคือ Transylvania Saxons) มีบทบาท และเป็นกำลังสำคัญในการช่วยสู้รบ และเป็นพวกพ้องเดียวกันกับ Wallachia มาตั้งแต่ยุคก่อนสร้างปราสาทกันแล้ว (ช่วงศตรรษ 12-13th) แต่กลับกลายเป็นภายหลังมาหั่นกันเองซะอย่างนั้น


มาสรุปกันอีกทีนะครับ ว่าชื่อทั้ง 3 ของเจ้าชายแห่งแคว้น Wallachia มีอะไรบ้าง

1.Vlad Tepes
2.Vlad III of Wallachia
3.Vlad the Impaler

แต่จริงๆแล้ว เจ้าชายมีอีกชื่อ (ที่ 4) และน่าจะสำคัญที่สุดในเรื่องราว...

4.Vlad III Dracula


ชื่อที่ตั้งโดยเจตจำนง หาใช่การสรรเสริญจากชาวประชา...เพราะพ่อของเจ้าชาย คือ Vlad II Dracu เป็นสมาชิกของ Order of the Dragon (สมาคมนักรบคริสต์) คำว่า Dracul แปลว่า "มังกร" หรือในอีกนัยหนึ่งทางภาษาโรมาเนีย แปลว่า "ปีศาจ"


ดังนั้นเจ้าชาย จึงใช้ชื่อว่า "Dracula" ซึ่งมีความหมายว่า...บุตรแห่งมังกร/ปีศาจ นั่นเอง (ตั้งเอง และปรากฏบนเอกสารบางฉบับจริงในยุคศตวรรษที่ 15 ด้วยนะ)


ไม่ใช่แค่ตั้งให้เท่ห์กันเฉยๆ แต่ต้องบอกว่าในประวัติศาสตร์จริง Vlad III ขึ้นชื่อในเรื่องการทรมานศัตรู ชอบใช้วิธีการเสียบไม้เป็นเสาแหลม แทงทะลุร่างทั้งเป็น แล้วตั้งโชว์ไว้เรียงราย (โหดแบบจิตหลุดด!) จนกลายเป็นสัญลักษณ์ และสร้างความหวาดกลัวแก่ผู้คนในสมัยนั้น เลยถูกขนานนามว่าเป็น แวมไพร์ดูดเลือด และถูกมอบฉายาว่า Vlad the Impaler หรือ วลาด จอมเสียบ นั่นเอง (ถูกตั้งให้ หาใช่สิเน่หา)...ทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นในช่วงปีประมาณ ค.ศ.1456-1462 ฮะ




ภาพ: Vlad III the Impaler (ครึ่งสี, ศตวรรษที่ 16) ที่มา: Wikimedia Commons (public domain)


Back to the Future...ค.ศ.1897 มีการตีพิมพ์นิยายเล่มหนึ่ง ที่เปลี่ยนโลกเรื่องความเข้าใจแวมไพร์ไปตลอดกาล หนังสือเล่มนั้นมีชื่อว่า Dracula 


เขียนโดยชาวไอริช นามว่า Bram Stoker ที่ตัวนิยายจะเล่าเรื่องราวผ่านจดหมาย ไดอารี่ และบันทึกของตัวละครต่างๆ แต่โดยรวมแล้ว ต้องบอกว่าไม่เกี่ยวกับเรื่องราวที่ว่าเจ้าชายตัวจริงเป็นผีดูดเลือดหล่ะนะ...Stoker ศึกษาประวัติศาสตร์ และไปพบชื่อ Vlad III Dracula บนบันทึกจริงๆในระหว่างค้นคว้า ทำให้เกิดแรงบันดาลใจก็ว่าได้ จึงแค่หยิบยืมชื่อที่เจ้าชายตั้ง (Dracula) มาใช้ + ตำนานพื้นบ้านยุโรปกลาง + กับจินตนาการส่วนตัว แต่งตัวละครใหม่ที่เป็นแวมไพร์อมตะจากทรานซิลเวเนีย เพื่อความสมจริงที่สุดนั่นเอง


จริงๆแล้วนิยายเกี่ยวกับ แวมไพร์ ไม่ได้เริ่มจากของ Stoker เล่มแรกนะครับ แต่มีมาก่อนหน้านั้นแล้วบ้าง...The Vampyre (ค.ศ.1819) โดย John Polidori / Carmilla (ค.ศ.1872) โดย Sheridan Le Fanu


แต่นิยายแวมไพร์ในยุคสมัยนั้นมีลักษณะหลากหลายมากมาย  ไม่ได้กลัวแสงแดด, กลัวกระเทียม, ใส่เสื้อคลุม, หรือดูดเลือดกันเป็นกิจจะ (ออกไปทางปลุกเสน่ห์ทางเพศ มากกว่า) ถ้าจะให้พูดถึงตำนานพื้นบ้านเก่าแก่ยิ่งแล้วใหญ่ (เริ่มในยุโรปตะวันออก แวมไพร์คือผี หรือศพคืนชีพ หลอกคนในหมู่บ้าน อารมณ์เหมือน zombie บรึ่ยย~) 


จนเมื่อ Dracula ของ Stoker ถูกตีพิมพ์ กลายเป็นแวมไพร์ที่...

- ดูดเลือดเป็นการดำรงชีวิต
- กลัวแสงแดด (แม้ในนิยายไม่ตาย แต่จะพลังอ่อนลง)
- กลัวกางเขน กระเทียม น้ำมนต์
- ต้องนอนในดินบ้านเกิด หรือในโลง 
- ถูกฆ่าได้ด้วยไม้เสียบหัวใจ
- กลายร่างเป็นค้างคาว หมอก หรือหมาป่าได้




หลังจากมีการตีพิมพ์ภาพปกใหม่มากมายในภายหลัง นี่คือ cover ปกแบบ original ฮะ 
*Cover: Dracula by Bram Stoker, First Edition 1897. Public domain (British Library/Wikimedia Commons)




ภาพ: ปก The Vampyre (1819) โดย John W. Polidori ที่มา: Wikimedia Commons (public domain)





ภาพประกอบจาก Carmilla (1872) โดย D.H. Friston ที่มา: Wikimedia Commons (public domain)


นิยาย Dracula เลยเหมือนเป็นการตั้ง "สูตรแวมไพร์" จนกลายเป็นสูตรสำเร็จของวัฒนธรรม ที่กลายเป็นพิมพ์นิยมในหนัง ซีรีส์ การ์ตูน ฯลฯ จนถึงปัจจุบันนั่นเอง มาพูดถึงอิทธิพลต่อสื่อหลังจากนั้นฮะ จะเริ่มมีหนัง


- Nosferatu (1922)
- Dracula (1931)
- Van Helsing (2004)
- Castlevania (เกม ซีรีส์)
- Hotel Transylvania (20122022)
- Dracula Untold (2014)
- BBC Dracula (2020)
- Nosferatu (2024) เป็นต้น


ทั้งหมดนี้ มีการพัฒนามาเรื่อยๆ และเรียกได้ว่าเป็นคลื่นลูกหลังจากที่ Bram Stoker ปูทางไว้หล่ะนะ...หลายท่านอาจจะอยากทราบเรื่องราวในนิยายของ Stoker แต่ขออนุญาตไม่เล่าแล้วกันฮับ เพราะจะยาวไปกว่านี้มากมายย ฮ่าๆ แต่!! แนะนำให้ไปดูหนังเรื่อง Nosferatu (Ver.ปี 2024) ที่รีเมคกันใหม่จากภาคต้น original ปี 1922 เมื่อไม่นานมานี้เอง น่าจะได้ความหวาดเสียว หนุกหนาน และร่วมสมัยขึ้นมาแล้ว เพราะตัวหนัง tribute ทำเหมือนนิยาย Dracula 90% เลยนะ ต่างแค่ชื่อตัวละคร และตอนจบเท่านั้น (ชะอ้าวว ตอนจบในนิยายเป็นยังไงไม่บอกหรอก ฮรี่ๆ)




Nosferatu (2024) teaser poster logo. Public domain (Wikimedia Commons)


บทสรุปตอนจบอาจจะไม่ได้น่ากลัวเหมือนที่เราคิด เพราะ ปราสาทบราน เกี่ยวโยงกับเรื่องราวของเจ้าชาย Vlad III Dracula ที่สันนิษฐานว่าเคยอยู่ที่นี่ บวกกับชื่อ และความโหดของเจ้าชายเพียงเท่านั้น


ณ ปัจจุบัน ปราสาทบราน ตกทอดมาถึงเจ้าชาย Dominic von Habsburg แห่งราชวงศ์ฮับส์บูร์ก (Habsburg family) ทายาทราชวงศ์แห่งโรมาเนีย หรือก็คือ Wallachia ในจุดเริ่มต้นนั่นเอง โดยเจ้าชายยินดีให้ประชาชนเข้าชม (เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์) และเปิดให้เช่าเพื่อกิจกรรมพิเศษอยู่บ้างฮะ ทำให้ทุกโปรแกรมทัวร์ หรือนักท่องเที่ยวที่ไปโรมาเนีย ไฟลท์บังคับให้ต้องมาที่นี่กันเลย 




ภาพ: Dominic von Habsburg กับครอบครัว ที่มา: Royal Line of Succession / Picryl (public domain)


แถมกันสักนิดด ถ้าท่านใดอ่านถึงตรงนี้ คอมเม้นบอกกันหน่อยนะ พี่บิ๊กฟุตต้องส่งของเส้นไหว้สักหน่อยยแว้วว รู้หมือไร่!!! ปราสาทนี้เคยเปิดให้คนเข้าพักจริงๆด้วยนะ...


วันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ.2016 ตรงกับวัน Halloween พอดีเป้ะ เคยมีผู้โชคดี 2 ท่าน (หรือโชคร้าย) ได้ไปนอนที่ปราสาทแดร็กคูล่ากันมาแล้ว จากแคมเปญในชื่อว่า "Sleep like the dead" จัดโดย Airbnb (platform ให้ฝากห้องเช่าออนไลน์ระดับโลก) โดยผู้สนใจจะต้องเขียนเรียงความสั้น ตอบคำถามว่า "What would you say to Count Dracula if you met him in his castle?"  ต้องเขียนในน้ำเสียงแบบ Bram Stoker กันด้วยนะ (แนว gothic, ลึกลับ, มีจินตนาการ) จากนั้นจะคัดเลือกคำตอบที่ดีที่สุดจากทั่วโลก จนเหลือผู้ชนะแค่ 2 คน ได้รางวัลเป็น Halloween Giveaway สุดพิเศษษ...  


- นั่งรถม้าผ่านป่ามืดเข้าไปในปราสาท (เหมือนตอนที่ตัวละครในนิยายถูกหลอกไปหา Count Dracula)
- กินดินเนอร์แบบยุควิกตอเรียน
- มีไกด์ทัวร์โดยทายาทแท้ๆของ Bram Stoker - Dacre Stoker (*ผู้เป็นหลานแท้ๆ และเป็นผู้จัดการมรดกทางวรรณกรรมของตระกูล แถมยังเขียนภาคต่อของ Dracula แล้วด้วย 1 เล่มฮับ...Dracula: The Un-Dead ปี 2009)
- และที่พีคคขั้นสุด...นอนในโลงศพบุผ้ากำมะหยี่ในห้องใต้ดินของปราสาท ไม่มีกระจก ไม่มีแสงแดด มีแค่แสงเทียนและเสียงหมาป่าหอนเพียงเท่านั้น~~


ทำไปทำไมม...เพราะเป็นกิจกรรมโปรโมทท่องเที่ยว Transylvania โดยการเห็นพ้องตรงใจระหว่าง Airbnb และ Habsburg family ว่าจะไม่ทำให้ลบหลู่ หรือบิดเบือนประวัติศาสตร์ แต่เป็นโอกาสสร้างความสนใจทางวรรณกรรม + ตำนาน Dracula... โรมาเนียได้กระตุ้นการท่องเที่ยว / ตระกูล Stoker ได้โปรโมทนิยาย / Airbnb ทำให้แบรนด์โดดเด่นด้านประสบการณ์แปลกใหม่ไปทั่วโลกนั่นเองง


แต่ที่น่าฉงนหน่อยๆก็คือ แคมเปญนี้จัดครั้งแรก และครั้งเดียวเท่านั้น ไม่มีการจัดอีกเลยหลังจากนั้น และหลังจากกิจกรรมจบลง ไม่มีการพูดถึงผู้โชคดี 2 ท่านนั้นด้วยเช่นกัน หรือว่าา...อาจมีมวลสาร...พลังงานบางอย่าง...อยู่จริงๆ ก็...เป็น...ได้...




ภาพ: คืนในโลงศพกำมะหยี่ในห้องใต้ดินของ Bran Castle ที่มา: Reuters (ใช้ภายใต้ fair use)


เห็นแล้วก็นึกถึงบทสนทนานึง ของ Harry และ Dumbledore ในโลกเวทมนต์ของผู้วิเศษมาซะงั้นฮะ


- Harry: Is this all real? Or is it just happening inside my head?
(ศาสตราจารย์ครับ..เอ่อ...นี่เป็นความจริงรึเปล่า หรือมันแค่เกิดขึ้นในหัวของผม)

- Dumbledore: Of course its happening inside your head, Harry. Why should that mean that its not real? 
(แน่นอน มันเกิดขึ้นในหัวของเธอแฮร์รี่...ทำไมถึงจะแปลว่า...มันไม่จริงหล่ะ!)


ซึ่งมันกำลังเกิดขึ้นในหัวอยู่เลยหล่ะตอนนี้ ก็เจ้าพี่บิ๊กฟุตอยากให้เป็นเรื่องจริงนี่นาา ฮาา


สุดท้ายนี้ นี่คือภาพปราสาทบราน หรือ ปราสาทแดร็กคูล่า ในปัจจุบัน เอามาลงเพื่อให้เห็นบรรยากาศกันมากขึ้นฮะ 




Photo by Mihai Vlasceanu on Pexels




Photo by Ovais on Pexels




Photo by Nomadic Julien on Unsplash




Photo by GirlvsGlobe86 on Pexels




Photo by Никола Станојковић on Pexels




Photo by Swiss Atlas on Pexels




Photo by Anna Mircea on Unsplash




Photo by Nichitean Dumitrita Veronica on Pexels




Photo by Elisa Photography on Unsplash

พี่ตีนโต
พี่ตีนโต
หนึ่งในสมาชิก Order ผู้มีบุคลิกแฝง รักในการเขียน มากกว่าการขาย (ซะอย่างงั้น >.<)
บทความที่เกี่ยวข้อง
ร้านไอศกรีมซานฟรานซิสโก
ตามรอย Swensen’s ต้นฉบับแห่งแรกของโลกกันเถอะ เปิดให้บริการใจกลางซานฟรานซิสโกมาตั้งแต่ปี 1948 ร้านไอศกรีมในตำนานที่หลายคนไม่เคยรู้ว่ามีอยู่จริง
พี่ตีนโต พี่ตีนโต
24 พ.ค. 2025
4 สังเวชนียสถาน
เส้นทางตามรอยพระพุธเจ้าที่พุทธศาสนิกชนหลายท่านน่าจะอยากไปสักครั้งในชีวิต เราขอแชร์ข้อมูลในมุมมองฝั่งพี่ตีนโตถึงเรื่องการเตรียมตัวเบื้องต้น และสถานที่แนะนำที่ควรไปกันฮับ
พี่ตีนโต พี่ตีนโต
2 พ.ค. 2025
ดูแสงเหนือ เดือนไหน
หนึ่งในคำถามยอดฮิต จากเหล่านักผจญภัย ก็คือ ดูแสงเหนือ ที่ไหนสวยที่สุด...ดูประเทศไหนดี ดูที่ไหนกันได้บ้าง ขอมาเล่าสู่กันฟัง เผื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจกันฮับ
พี่ตีนโต พี่ตีนโต
28 เม.ย. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy